เรื่องเงินอันนี้เรื่องใหญ่ เพราะการเป็นเจ้าของกิจการจะต้องสามารถอธิบายที่มาที่ไป ครบทุกมิติ และชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไล่ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ แหล่งเงินทุนของเราจะมาจากไหน จำนวนเท่าไหร่ ต้นทุนของเงินคือเท่าไหร่ (ดอกเบี้ย) หลังจากเริ่มธุรกิจไปแล้ว ก็ควรจะต้องประเมินต่อว่าถ้าเกิด scenario ต่าง ๆ เราจะรับมือหรือบริการจัดการเรื่องเงินอย่างไรต่อ ตามเทคนิคการเริ่มทำธุรกิจที่เรียกว่า Best, worst and average case scenario
Best Case Scenario : สถานการณ์ของธุรกิจออกมาดีมาก ๆ : อันนี้คงเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากให้เกิดขึ้น สิ่งที่เราต้องคิดต่อถ้าเกิด Best Case Scenario คือจะต่อยอดอย่างไร แหล่งเงิน
ที่จะใช้มาหมุนเวียน หรือลงทุนเพิ่มจะมาจากที่ไหน เป็นกำไรที่เกิดขึ้น หรือกู้จากแหล่งไหน
Worst Case Scenario : สถานการณ์ของธุรกิจออกมาแย่! : อันนี้หนักใจสุด ถ้าทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่ประเมิน หรือวางแผนไว้เลย และส่วนใหญ่มันมักจะเป็นอย่างนั้นเสียด้วย
เราจะต้องทำอย่างไร เราได้คิดไว้หรือยังว่าถ้าธุรกิจขายไม่ได้ตามเป้า หรือขาดทุน เราจะเติมเงินเข้าไปเพิ่มเท่าไหร่ แล้วจะเอาเงินจากไหนเติม ถ้าเติมจะเติมไปถึงเมื่อไหร่ หรือถ้าหาแหล่งเงินทุนไม่ได้จะรับมืออย่างไร
Average Case Scenario : สถานการณ์ปกติ : อันนี้ก็ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ดี เพราะเป็นไปตามแผนที่วางไว้
ไม่มีเทคนิคการเริ่มทำธุรกิจไหนดีไปกว่าการที่คุณแน่ใจว่าคุณกำลังขายในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการ เพราะถ้าสินค้าของคุณไม่ได้เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ต่อให้คุณตั้งใจทำขนาดไหนก็ยากที่จะมีคนซื้อ เพราะมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาใด ๆ ให้กับลูกค้าเลย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าต้องการอะไรจริง ๆ ง่ายที่สุดก็คือ อย่าคิดเองเออเองออกไปสำรวจกับลูกค้าจริง ๆ ไปเรียนรู้ ไปเข้าใจลูกค้า หาให้เจอว่าอะไรที่เป็น Pain Point อะไรที่เขาอยากได้
สิ่งที่ควรทำเมื่ออยากเริ่มธุรกิจนั้น อันดับแรกคุณต้องรู้จักและเข้าใจในธุรกิจที่คุณกำลังจะเข้าไปทำให้ดี รู้ว่าในตลาดที่คุณกำลังลงไปเล่นนั้นเขาแข่งขันกันด้วยอะไร เพราะอะไรลูกค้า
ถึงต้องซื้อของคุณ คุณสามารถสร้างข้อแตกต่างหรือข้อได้เปรียบอะไรบ้าง และเริ่มวางแผนบนกระดาษก่อนที่จะลงเงินจริง ๆ
หนึ่งในเครื่องมือหรือเทคนิคการเริ่มทำธุรกิจที่นิยมใช้กันมากที่สุด ก็คือ Business Model Canvas ซึ่ง Business Model Canvas นั้นประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 9 ข้อที่สำคัญครอบคลุมการทำธุรกิจทุกประเภท ดังนี้
1. Value Propositions : คุณค่า/จุดแข็ง ของสินค้าหรือบริการของเราคืออะไร
2. Customer Segment : กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร สินค้าเราจะขายใคร
3. Channels : เราจะสามารถจัดส่งหรือเข้าถึงลูกค้าได้ในช่องทางไหนบ้าง
4. Customer Relationships : เรามีวิธีที่จะสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าของเราอย่างไร
5. Revenue Streams : เรื่องนี้สำคัญมาก คือ “รายได้ของธุรกิจจะมาจากไหน”
6. Key Resource : อะไรคือทรัพยากรหลักในธุรกิจ
7. Key Activities : ธุรกิจคุณทำอะไรเป็นหลัก
8. Key Partners : พาร์ทเนอร์ที่สำคัญในการทำธุรกิจคือใคร
9. Cost Structure : โครงสร้างของค่าใช้จ่าย และต้นทุนในการดำเนินการเป็นอย่างไร
ทุกวันนี้สิ่งต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การที่คุณมีร้านอาหารอยู่ในละแวกนั้น ไม่ได้แปลว่าคู่แข่งคุณจะต้องอยู่ในละแวกเดียวกันอย่างเดียวเท่านั้น แต่คู่แข่งของคุณอาจจะมาจากร้านที่อยู่ห่างคุณไปอีกเป็น 10 กิโล เพราะโมเดลมันเปลี่ยนไป การเกิดขึ้นของ Platform Food Delivery ทำให้มีร้านเกิดใหม่ ที่เป็น Ghost Restaurant (ร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน) เกิดขึ้นมากมาย ทำให้คนมีตัวเลือกมากขึ้น แล้วจะเริ่มธุรกิจใหม่ยังไงดีล่ะ? ถ้าตอนนี้คุณทำธุรกิจร้านอาหาร คู่แข่งทางตรงของคุณอาจจะเป็นร้านใกล้ ๆ คุณ แต่คู่แข่งทางอ้อมอาจจะมาจากที่ไหนก็ได้ ดังนั้น วันนี้หากคุณทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ แล้วจะรู้แค่เรื่องการทำร้านอาหารอาจจะไม่พออีกต่อไป แต่เทคนิคการเริ่มทำธุรกิจที่ดีต้องเข้าใจเรื่องของ Digital Marketing ด้วย
อย่าพยายามทำทุกอย่างด้วยตัวเอง การทำธุรกิจเราไม่สามารถทำคนเดียวทุกอย่างได้คุณต้องมีทีมที่เก่ง ดังนั้น หากจำเป็นจริง ๆ การจ้างคนอื่นมาทำในสิ่งที่คุณไม่ถนัด หรือทำได้ไม่ดีเป็นสิ่งที่ควรทำเมื่ออยากเริ่มธุรกิจ (ถ้าไม่มีเงินจ้าง ก็อาจจะใช้วิธีหาพาร์ทเนอร์ที่เขามีความถนัดในสิ่งที่เราไม่ถนัดก็ได้) “เทคนิคการเริ่มทำธุรกิจอย่างแรกที่เขาอยากแนะนำให้เจ้าของธุรกิจทำ คือ การหาโค้ชดี ๆ สักคน จ้างบริษัทที่ปรึกษาดี ๆ สักที่ เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่คนคนหนึ่งจะจัดการได้ทุกแง่มุมของบริษัท แม้ว่าคุณจะเก่งมากแค่ไหนก็ตาม” และสุดท้ายเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของคนเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องของระบบ หรือ System ต่าง ๆ ด้วย อะไรที่มันสามารถช่วยให้เรารันธุรกิจได้ง่ายขึ้น เราควรที่จะจ่ายกับสิ่งนั้น แน่นอนเราต้องศึกษาให้ดีด้วยนะครับ เพราะหลายครั้งกลายเป็นว่า “ระบบที่ซื้อมานอกจากจะไม่ช่วยให้คนทำงานสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นภาระและเพิ่มงานที่ไม่จำเป็นให้กับทีมของคุณอีกต่างหาก”
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/starting-new-business